TKP HEADLINE

พ่อครูคำรณ ปราชญ์ภาษาล้านนาคัมภีร์ใบลาน


พ่อครูคำรณ ปราชญ์ภาษาล้านนาคัมภีร์ใบลาน

             นายคำรณ มูลศรี ได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านภาษาล้านนา  มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2500 โดยเริ่มจากการสมัครเป็นเด็กวัดที่สำนักสงฆ์ บ้านป่าแขม อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ซึ่งขณะนั้น กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่3 โดยได้เรียนรู้ ภาษาล้านนา ตอนเย็นหลังเลิกเรียน ควบคู่ไปด้วย ต่อมาเมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 สามารถสวดมนต์ที่เขียนเป็นภาษาล้านนา และอ่านธรรมใบลานที่เขียนเป็น ภาษาล้านนา ได้อย่างคล่องแคล่ว ต่อมาปี พ.ศ.2502 ได้บวชเป็นสามเณรได้ ศึกษาเล่าเรียน ระดับมัธยมศึกษา จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้บรรจุเป็น ครูเอกชน ที่โรงเรียนวิสุทธิ์วิทยากร อำเภอเมืองจังหวัดลำปาง ได้ถ่ายทอดภูมิรู้   ด้านภาษาล้านนาโดยตลอด  มีความรู้ความสามารถในการเขียน การอ่านธรรมใบลาน สมุดข่อยและ คัมภีร์ต่างๆ ที่เขียนด้วยภาษาล้านนา และสามารถแปลเป็นภาษาถิ่น และภาษาไทยได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2504 - 2506 ได้ไปจัดหาใบลานได้เดินทางไปที่ อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน  เดินทางด้วยเท้า ไม่มีถนน และรถยนต์เพื่อ ไปจัดหาใบลาน นำมาจัดทำตามขบวน การแบบโบราณ จนสามารถนำใบลาน ที่ผ่านขบวนการแล้ว มาเขียนเป็นธรรมใบลาน ปัจจุบันผลงานที่ทำไว้ยังมี อยู่ที่วัดป่าแขม อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยาต่อมาได้จัดทำสมุดข่อยโดยใช้เปลือกต้นฉำฉา(สาควาย)มาทำขบวนการและ วิธีแบบโบราณในการทำกระดาษที่จะนำมาเป็นสมุดข่อย(ปัจจุบันเรียกว่าการ ทำกระดาษสา)เมื่อทำสมุดข่อยเสร็จ ก็ทำเป็นรูปเล่มและเขียนเป็นภาษา ล้านนา เป็นตำรายา และการเขียนตำราไศยศาสตร์ตาม ลัทธิศาสนาพรามณ์ โบราณ การเขียนต้องเขียนด้วยปากกาคอแร้ง(ใช้ขนนกทำเป็นปากกาคอแร้ง ใช้เขม่าถ่านไฟฉายผสมน้ำเป็นน้ำหมึก)ระยะต่อมามีหมึกอินเดียอิ้งค์แบบเป็นแท่งและเป็นน้ำมาใช้แทน อ่านเพิ่มเติม

Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดพะเยา. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand