TKP HEADLINE

ประเพณีตานขันข้าวร้อยขัน (รอมสลี)

 

ประเพณีตานขันข้าวร้อยขัน (รอมสลี)

            เมื่ออดีตที่ผ่านมา 2000 กว่าปี เมืองเชียงคำแห่งนี้มีนามว่า เมืองชะราว มีปรากฏอยู่ในประวัติ ตำนานพระธาตุดอยคำและ พระเจ้านั่งดิน ในที่นี้จะกล่าวประวัติความเป็นมาแห่งประเพณีทานขันข้าวร้อยขัน ณ พระธาตุรอมสลี เป็นประเพณีที่ปฎิบัติกันมานาน เมื่อประมาณ 700 ปีที่ผ่านมา มีพระยาผู้ครองเมืองแห่งนี้ไม่ปรากฏนามไว้เป็นหลักฐาน ได้ตั้งถิ่นฐานคุ้มพระราชวังอยู่ที่บ้านคุ้ม ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ปัจจุบันเป็นที่ตั้งบริเวณวัดคุ้ม ตำบลร่มเย็น ตามประวัติตำนานที่มีผู้สูงอายุในบ้านคุ้มได้เล่าสืบกันมาว่าพญาผู้ครองเมืองแห่งนี้มีความเชื่อและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีความเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยเป็นอย่างมาก ผู้คนในสมัยก่อนนิยมกินหมากเป็นส่วนมาก รวมทั้งพระสงฆ์ เป็นความนิยมในแต่ละยุคสมัยมีวัดซึ่งตั้งอยู่ในทิศตะวันตกของคุ้มพระราชวัง มีพระเถระผู้ปฎิบัติชอบตามพระธรรมวินัยเป็นอย่างมากผู้คนร่วมทำบุญรักษาศีลที่วัดเป็นประจำ ประชาชนคนทั้งหลายเรียกว่าวัดป่าเนื่องจากในบริเวณและนอกบริเวณวัดเต็มไปด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบรูณ์ มีความสงบร่มเย็นแม้แต่พญาเจ้าเมืองพร้อมครอบครัวเสนาอำมาตย์ เหล่าทหารทั้งหลายพากันไปเข้าวัดมิได้ขาด
            ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน วันหนึ่งซึ่งเป็นวันพระพอดี ปูนกินหมากของครูบาปัญญาหมด ครูบาปัญญาจึงได้บอกให้เณรรูปหนึ่งนำต้นปูนเปล่าไปขอปูนกินหมากที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งขณะนั้นผู้ใหญ่บ้านไม่อยู่ นางผู้เป็นภริยาของผู้ใหญ่บ้าน ก็เป็นผู้เคารพจารีตประเพณี จะไม่ยอมตักปูนออกจากหม้อปูนใหญ่ในวันพระจึงได้มอบต้นปูนของตนเองยกให้นำไปถวายครูบา ใช้ไปก่อนวันพรุ่งนี้จะตักใส่ให้ใหม่ แล้วนำไปเปลี่ยนเอาต้นปูนของนางกลับมา เณรก็นำต้นปูนของภริยาผู้ใหญ่บ้านไปถวายครูบา แต่พอรุ่งเช้าผู้ใหญ่บ้านมีกิจธุระที่วัด ก็เห็นต้นปูนในขันหมากของครูบาปัญญาจำได้แน่นอนว่าเป็นต้นปูนของภริยาตนเอง ทำไมจึงมาอยู่ที่ขันหมากของครูบา จึงสอบถามความเป็นมาของต้นปูนกับครูบาๆก็เล่าตามความเป็นจริงให้กับผู้ใหญ่บ้านฟัง อ่านเพิ่มเติม

Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดพะเยา. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand