TKP HEADLINE

ประเพณีบวงสรวง เจ้าหลวงคำแดง


ประเพณีบวงสรวง เจ้าหลวงคำแดง

 ประวัติความเป็นมา

            ตามตำนานเจ้าพ่อหลวงคำแดง กล่าวว่าครั้งอดีตสมัยเมืองพะเยารุ่งเรืองอำนาจ เจ้าผู้ครองนครพระนามว่า “เจ้าหลวงคำแดง” พระองค์โปรดการเสด็จประพาสป่าล่าสัตว์ ครั้งหนึ่งได้เสด็จไล่ตามจับกวางงามตัวหนึ่ง พระองค์พยายามควบม้าไล่ตามอย่างกระชั้นชิดแต่ก็หาทันไม่ กวางได้วิ่งหนีไปจนถึงเชิงดอยอ่างสลุงและหลบหนีเข้าไปซ่อนตัวในถ้ำเชิงเขา เจ้าหลวงพยายามจะตามจับให้ได้ ลงจากหลังม้าแล้วทรงวิ่งตามกวางเข้าไปในถ้ำ ส่วนไพร่พลสุดที่จะทัดทานได้และวิ่งตามไม่ทัน เจ้าหลวงคำแดงเข้าไปตามหากวางในถ้ำแต่ไม่พบ พบแต่สาวงามผู้หนึ่งได้สนทนากันจนเป็นที่พอพระทัย ได้ทรงทราบความจากสาวงามชื่อ “อินทร์เหลา” ว่านางถูกสาปให้มาอยู่ในถ้ำนี้ ถ้าออกนอกถ้ำจะกลายร่างเป็นกวางทันที เจ้าหลวงได้ทรงทราบมีความสงสารและ เกิดความเสน่หาได้อยู่กินกับนางกวางในถ้ำนั้นตลอดมา โดยไม่ยอมกลับไปบ้านเมือง แม้พวกข้าราชบริพารจะมาเชิญให้กลับก็ไม่ยอม พระองค์จะพานางไปอยู่ในเมืองก็ไม่ได้ เพราะนางจะกลายร่างเป็นกวาง ฉะนั้นพระองค์จึงตัดสินพระทัยอยู่กินกับนางจนตลอดชีวิต ชาวบ้านยังคงมีความเชื่อว่าวิญญาณของเจ้าหลวงคำแดงกับ นางอินทร์เหลายังคงสถิตอยู่ในถ้ำเชียงดาวและบริเวณดอยหลวงมาจนทุกวันนี้ ชาวบ้านเชื่อว่าเจ้าพ่อหลวง คำแดงเป็นเก๊าผี (ต้นตระกูลผี) ในเขตล้านนาทั้งหมดมีผีบริวารที่สำคัญ ได้แก่ เจ้าพ่อข้อมือเหล็ก เจ้าพ่อวีวอ ดังนั้น ทุกเดือน 9 (เหนือ) ของทุกปี ชาวแม่ใจจะจัดพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อหลวงคำแดง ณ บริเวณ ศาลเจ้าพ่อหลวงคำแดง วัดโพธาราม อ่านเพิ่มเติม

Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดพะเยา. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand