“ค่าว” หมายถึงคำประพันธ์ที่มีลักษณะร้อยสัมผัสสอดเกี่ยวกันไปแบบร่ายและจบลงด้วยโคลงสองหรือโคลงสามสุภาพ มีหลายชนิดคือ เรื่องที่ปรากฏในเทศนาธรรม เรียกว่า “ ค่าวธรรม” ถ้าแต่งเป็นจดหมายรักเรียกว่า “ ค่าวใช้”ถ้านำไปอ่านเป็นทำนองเสนาะเรียกว่า “ค่าวซอ” หรือ “เล่าค่าว” และถ้าหากเป็นการขับลำนำตอนไปแอ่วสาวเรียกว่า “จ๊อย” แม้ชาวบ้านที่พูดคล้องจองกันเรียกว่า “ อู้เป็นค่าวเป็นเครือ”
นางยวง จินะหาญ อายุ 70 ปี อยู่บ้านเลขที่ 73 บ้านต๊ำนกกก หมู่ที่ 1 ตำบลท่าจำปี อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา บอกเล่าว่า ด้วยความสนใจส่วนตัวในเรื่องการเล่าค่าย ตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก อายุประมาณ 7-8 ขวบ ได้เรียนรู้การอ่านค่าว จากการซื้อค่าวของคณะดีเจบัวคำมาอ่าน ซึ่งจะมีขายเหมือนข่าว นิยาย ในปัจจุบัน ได้ซื้อมาอ่าน ได้แก่ ค่าวนางผมหอม , เทวทูตทั้ง 5 , บัวระวงศ์ , จำปาสี่ต้น , ค่าวธรรมะ จนสามารถแต่งกลอน คำประพันธ์ภาคเหนือ ที่เรียกว่า “เล่าค่าว” การแต่งรำพันเกี่ยวกับเรื่องราวความรักหรือเป็นเรื่องราวต่างๆ ตามแต่ประสบการณ์ หรือความถนัดหรือความสนใจของผู้เล่า ซึ่งค่าวบางเรื่องจะสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี อ่านต่อ
No comments:
Post a Comment